สัมภาษณ์ช่างแกะสลัก ยาสุดะ คัน ผลงานด้านศิลปะอันเป็นที่รักของคนจำนวนมากที่สถานีรถไฟซัปโปโร และ “ARTE PIAZZA BIBAI” งานศิลปะกลางแจ้งที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์

สถานีรถไฟซัปโปโรเป็นประตูทางเข้าของซัปโปโร เป็นสถานที่ในแต่ละวัน
มีผู้คนจำนวนกว่าหนึ่งแสนคนเดินสวนกัน ที่นี่มี “ความฝันที่แปลกประหลาด
ของคุณยาสุดะ คัน ช่างแกะสลักที่เป็นที่รู้จักกันในระดับสากลวางตั้งอยู่
คุณยาสุดะ คัน ได้พูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเมืองและงานแกะสลัก และเกี่ยวกับ
“ARTE PIAZZA BIBAI” งานศิลปะกลางแจ้งที่บิบาอิสถานที่เกิดของคุณยาสุดะ คัน


ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของสถานีรถไฟซัปโปโรที่ปรากฏให้เห็น
“ความฝันที่แปลกประหลาด” เป็นที่รักของคนจำนวนมาก

เมื่อลงที่สถานีรถไฟซัปโปโร พอออกจากห้องโถงที่เชื่อมไปยังถนนหน้าสถานีรถไฟที่ผ่านทิศเหนือและทิศใต้ของตัวเมือง จะมีงานแกะสลักทรงกลมที่เรียบโค้งมนเมื่อต้องแสงธรรมชาติคอยต้อนรับอยู่ งานแกะสลักของคุณยาสุดะ คัน ที่ได้ตั้งชื่อว่า“ความฝันที่แปลกประหลาด” มักมีคนไปรวมกันอยู่รอบๆ เสมอ นับว่าเป็นการแสดงตนเป็นสัญลักษณ์ของสถานีรถไฟ

“การวางงานแกะสลักหินอ่อนที่ใหญ่และหนักขนาดนี้ภายในอาคาร และวางอยู่ตรงกลางเส้นทางเดินของสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารในแต่ละวันมากกว่าหนึ่งแสนคน แทบจะไม่มีที่ไหนในโลกทำกันแบบนี้ แต่ว่า สำหรับผมแล้ว ผมมั่นใจว่างานแกะสลักชิ้นนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการไปมาของผู้คน และในปัจจุบัน
บริเวณรอบๆ ของ “ความฝันที่แปลกประหลาด” หนาแน่นไปด้วยคนที่รอนัดพบหรือคนที่มาพักผ่อนอยู่เสมอ
งานแกะสลักนี้คงจะเร้าความรู้สึกของผู้คนให้ “อยากสัมผัส” อย่างแน่นอนครับ มีทั้งคนที่ยืดมือออกไปสัมผัส
ชิ้นงานอย่างธรรมชาติ และเด็กๆ ที่เอานิ้วแหย่รู โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ใสซื่อพอเห็นงานแกะสลักแล้วจะวิ่งขึ้น
มากอด แม้แต่งานนิทรรศการที่กำลังแสดงอยู่ทุกแห่งทั่วโลก ปฏิกิริยาของเด็กๆ เหมือนกันหมดครับ”

สำหรับชีวิตทำงาน จะสร้าง “ARTE PIAZZA BIBAI” ต่อไปเรื่อยๆ

ในปีค.ศ. 1992 ได้ทำการเปิดสวน “ARTE PIAZZA BIBAI” ที่นี่ในแต่ละวัน จะได้ยินเสียงหัวเราะดีใจของเด็กๆ ดังก้องสะท้อน ในพื้นที่ขนาด 7 หมื่นตารางเมตรและพื้นที่รวมที่มีขนาดใหญ่ มีผลงานของคุณยาสุดะ คัน ประมาณ 40 ชิ้น ตั้งเรียงรายอยู่ กล่าวกันว่า ระยะห่างไปจนถึงงานแกะสลักชิ้นถัดไป มีความห่างที่สามารถลืมระยะห่างของงานแกะสลักชิ้นก่อนหน้านี้ได้ ในระหว่างที่เดินดูงานแกะสลักที่ตั้งอยู่ไปรอบๆ จะมีความรู้สึกว่ากำลังค้นหาตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว และอยากที่จะสนทนาขึ้นมาทันที

“ในปีค.ศ. 2007 ตอนที่จัดงานนิทรรศการที่โรม มีสุภาพสตรีพร้อมลูกสาวสองคนได้เข้ามาสนทนาด้วย
ในปีค.ศ. 1972 ผมได้ไปดูงานนิทรรศการที่จัดโดยช่างแกะสลักเฮนรี่ มัวร์ ที่ฟลอเรนซ์ ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก สุภาพสตรีท่านนี้ก็ได้ไปดูงานนิทรรศการนั้นเช่นกัน เธอบอกกับผมว่า ในเวลาที่ชีวิตมีความทุกข์และความเศร้าโศก ก็ได้ความประทับใจที่ได้รับในตอนนั้นเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงคํ้าจุน และ “ลูกสาวทั้งสองคนของตัวเองก็เช่นกัน ต่อจากนี้ คงจะจำความประทับใจที่ได้รับจากงานนิทรรศการของคุณ
ได้แน่นอน ”เช่นเดียวกัน ผมอยากให้คนที่แวะชม ARTE PIAZZA BIBAI คงไว้ซึ่งความทรงจำ และมีความประทับใจที่จะนำมาคํ้าจุนชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ที่ได้เปิดสวน ผมจะไม่มีการประนีประนอมโดยเด็ดขาด
แม้แต่ตอนนี้ สำหรับชีวิตการทำงานของผมเป็นการสร้างความว่างไปเรื่อยๆ ครับ”

ศิลปะก่อให้เกิดความว่างขึ้นมาใหม่ เป็นเวลาแห่งการค้นหาตนเอง

“ที่ตลาดของจักรพรรดิ์ Trajanus ที่ยังหลงเหลือซากในสมัยโบราณ มี “หัวใจที่อยากกลับมา” ซึ่งเป็นผลงานที่ถูกตั้งไว้อย่างถาวร คนอิตาเลียนนั้น ได้นำเอาข่าวสารจากงานที่ถูกสร้างขึ้นไว้เมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว โดยคำนึงถึงคนที่จะอาศัยอยู่อีก 1,000 ปีข้างหน้าด้วยการตั้งรูปแกะสลักที่ตัวเมืองฮอกไกโดเคยเป็นเหมืองถ่านหินชั้นนำ โรงเรียนของโรงเรียนชั้นประถมและซากเมืองที่อยู่อาศัยของเหมืองถ่านหินที่ยังคงเหลือเป็นความทรงจำที่เคยรุ่งเรืองในอดีตนั้น นำมาสร้างใหม่ด้วยศิลปะเป็น ARTE PIAZZA BIBAI เป็นความว่างที่ให้รู้สึกตระหนักถึงกาลเวลาที่ต่อเนื่องมาจากอดีต และเวลาที่จะค้นหาตนเองอย่างลึกซึ้ง ในสถานที่แบบนี้
ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นกำลังขาดแคลนมากที่สุดในตอนนี้ ดังนั้น ผมคิดว่า ARTE PIAZZA BIBAI ควรจะเป็น
สิ่งที่น่าจะหลงเหลือไว้ในอีกกี่ร้อยปีข้างหน้านี้ ”

งานแกะสลัก จะคงอยู่ในที่นั้นๆ ในระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่าชั่วชีวิตอายุขัยของคน มันจะน้อมรับชีวิตของ
ผู้ชมจำนวนมาก งานแกะสลักของคุณยาสุดะ คัน ที่ตั้งไว้ที่ สถานีรถไฟซัปโปโรสวนสาธารณะโซเซคะว่าKitara ฮอลล์สำหรับจัดแสดงคอนเสิร์ตของซัปโปโรศาลาว่าการเมืองฮอกไกโดสวนศิลปะซัปโปโรพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ฮอกไกโดนั้น จะส่งต่อข่าวสารให้กับผู้คนอีก 100 ปีต่อจากนี้แบบไหนกันนะ
หลังจากที่เดินรอบๆ ผลงานเหล่านี้แล้ว อย่าพลาดที่จะไปเยี่ยมชม ARTE PIAZZA BIBAI ด้วย ในขณะที่
“กลับมาสู่ตัวเอง” เป็นความว่างที่กลมกลืนกันระหว่างธรรมชาติและงานแกะสลัก น่าจะเป็นประสบการณ์ที่ยากที่จะหาอะไรมาทดแทนได้

พาเที่ยวชมผลงานของยาซุดะ คัน ศิลปินนักแกะสลักซึ่งเกิดที่ฮอกไกโด
สายสัมพันธ์ระหว่างอิซามุ โนะกุจิที่เกิดในอิตาลี และคัน ยาซุดะพบกันอีกครั้งในรูปแบบของสวนสาธารณะ

ยาสุดะ คัน

ช่างแกะสลัก

เกิดปีค.ศ. 1945 ที่เมืองบิบาอิ ฮอกไกโด หลังจากจบปริญญาโทภาควิชาแกะสลัก มหาวิทยาลัยโตเกียวศิลปะ ในปีค.ศ. 1970 ได้รับเชิญจากรัฐบาลอิตาลีในฐานะนักเรียนต่างชาติไปเรียนต่อยังประเทศอิตาลี ได้ศึกษากับ PERICLE FAZZINI ที่โรงเรียนศิลปะโรม แอคคาเดเมีย หลังจากนั้น ไปทำห้องสตูดิโอที่ PIET RASANTA ทางเหนือของอิตาลีสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นแหล่งหินอ่อน ปัจจุบันยังดำเนินกิจกรรมการสร้างงานทางด้านแกะสลักหินอ่อนและบรอนซ์อยู่เรื่อยๆ